บทวิเคราะห์ ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ จาก พรก.เงินกู้ 350,000 ล้านบาท
โดย ฝ่ายวิชาการ พรรคเพื่อไทย
ดร.เบญจวรรนรี โชติช่วงนิรันดร์
อัตราการเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะด้านผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือที่เรียกว่า GDP ตามทฤษฎีของเคนส์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 4 ด้าน คือ
1. การใช้จ่ายในการบริโภคภาคเอกชน (Consumption Expenditure :C )
2. การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนภาคเอกชน (Investment Expenditure : I )
3. การใช้จ่ายของรัฐบาล (Government Spending : G )
4. การใช้จ่ายเพื่อการส่งออกสุทธิ (Export – Import : X-IM)
กล่าวคือ ถ้า การใช้จ่ายทั้ง ๔ ด้านข้างต้น มีการเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ GDP ของ
ประเทศเพิ่มขึ้นตาม ดังนั้นสำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา การใช้ปัจจัยการผลิตยังไม่เต็มที่และมีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กมากเมื่อเทียบกับโลก การใช้นโยบายการคลังโดยการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐ จึงเป็นสิ่งที่ควรทำตามทฤษฎีของเคนส์ โดยเฉพาะเมื่อการใช้จ่ายนั้นนำไปเพื่อการลงทุน สร้างผลผลิตให้แก่ประเทศ จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตมากขึ้น
เมื่อทำการวิเคราะห์ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ จากการออก พรก.เงินกู้ 350,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำไปใช้เพื่อการแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบ ถือเป็นการลงทุนของประเทศ นำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อไปยังรายได้ของประชาชน อำนาจซื้อของประชาชนจะเพิ่มขึ้น มีเงินจับจ่ายซื้อของได้มากขึ้น ภาคการผลิตก็ขายของได้มากขึ้น ก็อยากผลิตมากขึ้น ส่งผลให้มีการจ้างงานมากขึ้นไปอีก ยิ่งมีการเบิกจ่ายเงินเร็วเม่าไหร่ เงินจะยิ่งถูกหมุนเร็วเท่านั้น เศรษฐกิจของประเทศก็ยิ่งขยายตัวได้เร็วขึ้น ดังตาราง
No comments:
Post a Comment