Friday, June 18, 2010

วิเคราะห์งบประมาณกระทรวงพลังงาน

วิเคราะห์งบประมาณกระทรวงพลังงาน

ดร.เบญจวรรณ จันทระ
15 มิถุนายน 2553

ภาพรวม
งบเพิ่มจาก 1,869.4813 ล้านบาท เป็น 2,130 ล้านบาท โดยมีการปรับขึ้นทุกหน่วยงาน ในขณะที่ เป็นมีหน้าที่หลักคือ กำหนดนโยบายและแผนงานเชิงยุทธศาสตร์

กรมเชื้อเพลิง
งบเพิ่มจาก 176.5479 ล้านบาท เป็น 216.6866 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.73% ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมให้มีการสำรวจ พัฒนา ผลิตและบริการการจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติแบบบูรณาการ แต่กลับของบเพิ่มสูงถึง 22.73%

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) ประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในปี 2552 คิดเป็นเพียง 66% ของงบประมาณ ในปี 2553 เบิกจ่ายแล้วเพียง 36.31% ในขณะที่ภาระหน้าที่ยังเหมือนเดิม แต่กลับของบประมาณเพิ่มในปี 2554 เพิ่มขึ้นอีก 22.73% แสดงว่าของบเกินจริงถึง 86% แต่ประสิทธิภาพในการดำเนินงานมีแนวโน้มลดลงจากปี2552 จนถึงปี2553
คือ การให้สัมปทานในปี 2552 ทำได้ 80 แปลงสำรวจ ปี2553 ทำได้ 84 แปลงสำรวจ แต่ปี2554 ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 74 แปลงสำรวจ แต่ใช้งบประมาณสูงกว่า

กรมธุรกิจพลังงาน
งบเพิ่มจาก 273.8528 ล้านบาท เป็น 291.5879 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.48% ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลและพัฒนามาตรฐานธุรกิจพลังงานในด้านการค้า คุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและความมั่นคง

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) ประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายเกี่ยวกับการอนุญาต กำกับดูแลธุรกิจพลังงานในปี 2552 ทำได้ 79,582 รายใช้งบประมาณ 197.627 ล้านบาท ในปี 2553 ทำได้แล้ว 41,447 รายใช้งบประมาณ 94.758 ล้านบาท แต่ปี 2554 ตั้งงบประมาณ 279.8114 ล้านบาท แต่มีเป้าหมายเดียวกับปี2553 ในขณะที่ผลการดำเนินงานในปี2553 ทำได้จริงเพียง 39.95% แสดงให้เห็นถึงการไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย แต่กลับของบประมาณเพิ่มอีก
2) ภาระผูกพันที่เป็นค่าเช่ารถยนต์ 13 คัน และค่าเช่าสำนักงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นในปี2554 ในขณะที่ปี2552และ2553 ไม่มีรายจ่ายในส่วนนี้

กรมพลังงานทดแทน
งบเพิ่มจาก 830.8188 ล้านบาท เป็น 953.2632 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.74% ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งเป็นงานด้านยุทธศาสตร์

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) การไม่มีประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้
- การสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ NGV โดยเฉพาะในโครงการปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ 50,000 คัน ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี2552 จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผลงานที่ชัดเจน
- การผลิตและใช้พลังงานทดแทน ในปี2552 ตั้งงบประมาณสูงถึง 922.295 ล้านบาทแต่ดำเนินการจริงเพียง 53% และได้ผลงานคือพลังงานทดแทนที่ผลิตได้ 319.491 KTOE จากเป้าคือ 596.154 KTOE ส่วนในปี2553 ตั้งเป้าหมายที่ 441.8388 KTOE แต่ทำๆได้จริงเพียง 149.3188 KTOE คิดเป็น 33.79% และใช้งบประมาณไป 243.7436 ล้านบาท จากงบที่ตั้งไว้ 682.4808 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งงบประมาณไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน คือตั้งงบประมาณสูงในขณะที่ได้ผลงานระดับต่ำมาก เช่นเดียวกับปี2554 ที่ตั้งงบประมาณสูงถึง 571.5679 ล้านบาท เป็นสัดส่วนถึง 59.95% ของงบประมาณทั้งหมดในหน่วยงาน

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
งบเพิ่มจาก 62.294 ล้านบาท เป็น 91.7644 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.3% ซึ่งมีหน้าที่ในการเสนอแนะ นโยบายและแผนการพัฒนาพลังงานของประเทศ

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) การไม่มีประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุโดยเฉพาะในส่วนของการดูแลระดับราคาพลังงานของไทยให้เป็นธรรมและเหมาะสมกับสภาวะของสังคม ซึ่งที่ผ่านมาระดับราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาน้ำมันสูงเกินจริงถึงลิตรละ 10-12 บาท ในขณะที่รายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมและเหมาะสม
2) ในส่วนของงานวิเคราะห์ เสนอแนะยุทธศ่าสตร์ นโยบาย แผนงานและมาตรการด้านพลังงาน ในปี2552 ใช้งบประมาณไป 7.063 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 17.97 ล้านบาท แต่มีผลงานคือรายงาน 6 ฉบับ ซึ่งตามเป้าหมาย แสดงว่าตั้งงบเกินจริงถึง 60.69% เช่นเดียวกับปี2553 ที่ใช้งบไปแล้วเพียง 13% กับเป้าหมายเดิม แต่กลับของบเพิ่มในปี2554 ถึง 32.09446 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 97.48%
3) ในส่วนของงานวิเคราะห์ เสนอแนะ นโยบาย แผนงานและมาตรการด้านการจัดการพัฒนาปิโตเลียม ด้านไฟฟ้า และด้านอนุรักษ์ ในปี2552 ใช้งบประมาณไป 18.266 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 32.112 ล้านบาท แสดงว่าตั้งงบเกินจริงถึง 43.12% เช่นเดียวกับปี2553 ที่ใช้งบไปแล้วเพียง 3.687 ล้านบาท กับเป้าหมายเดิม แต่กลับของบเพิ่มในปี2554 ถึง 18.8549 ล้านบาท
4) ในส่วนของงบการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ในปี2552 ใช้งบประมาณไป 37.136 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 22.367 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งในปี2554 กลับของบสูงถึง 40.81504 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึง 88.68% แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการจัดทำงบประมาณอย่างชัดเจน



Tuesday, June 15, 2010

วิเคราะห์งบฯ กระทรวงการคลัง


วิเคราะห์งบประมาณกระทรวงการคลัง

ดร.เบญจวรรณ จันทระ
8 มิถุนายน 2553

ภาพรวม (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 1 หน้า 23-24)
งบประมาณลดลงจาก 215,709,678,200 บาท หรือ 215,709.6782 ล้านบาท เป็น 209,119.99 ล้านบาท ลดลง 6,590 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 3%

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) กรมที่มีหน้าที่หารายได้กลับมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ดังนี้
- กรมศุลกากรงบประมาณเพิ่มขึ้น 13%
- กรมสรรพสามิตงบประมาณเพิ่มขึ้น 10%
- กรมสรรพากรงบประมาณเพิ่มขึ้น 8%
ซึ่งการเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของงบลงทุน และรายจ่ายในงบลงทุนนั้นเป็นการใช้
จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ทั้งสิ้น ดังนั้นงบประมาณที่ใช้จ่ายไปจึงไม่เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่จะมีผลให้ฐานะการคลังยิ่งขาดดุลมากขึ้น การกู้เงินมาจึงเพื่อนำมาใช้จ่ายในส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดการลงทุนที่แท้จริงแต่กลับนำเงินที่กู้มาไปซื้อของ ซึ่งเงินที่นำไปซื้อของนั้นจ่ายแล้วก็หายไปไม่ได้ก่อให้เกิดการจ้างงาน รายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ประเทศเป็นหนี้มากขึ้น

ประเด็นที่น่าสังเกต 2) นอกจากกรมที่มีหน้าที่หารายได้กลับมารายจ่ายที่มากขึ้น ยังมีสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ที่มีงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างผิดสังเกต โดยเพิ่มขึ้นจาก 86 ล้านบาท(ตัวเลขกลมๆ) เป็น 563 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 477 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 555% ที่ปรับเพิ่มขึ้น
และในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังก็มีการปรับงบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 285 ล้านบาท เป็น 638 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นถึง 123%

หมายเหตุ. ต่อไปนี้จะแสดงตัวเลขงบประมาณเป็นตัวเลขกลมๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย




สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 5-11)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) แม้จะปรับลดงบประมาณลงจาก 1,097 ล้านบาท เหลือ 867 ล้านบาท โดยเป็นงบรายจ่ายอื่นถึง 518.99 ล้านบาท คิดสัดส่วนเป็น 60% ของงบทั้งหมดในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
2) ในส่วนของงบลงทุนกลับลดลงอย่างมาก จาก 169 ล้านบาท เหลือ 6.35 ล้านบาท ลดลงถึง 96% แต่กลับนำไปซื้อ กล้องวงจรปิด 1 ระบบ ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 6.35 ล้านบาท
(จริงๆแล้วการนำไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน)

กรมธนารักษ์ (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 13-20)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 3,092 ล้านบาท เป็น 3,237 ล้านบาท โดยเป็นรายจ่ายเพื่อเช่าพื้นที่ศูนย์ราชการถึง 2,381.28 ล้านบาท ในขณะที่รัฐบาลชุดก่อนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ปี 2551 นั้นอยู่ที่ 595 ล้านบาทเท่านั้น เห็นได้ว่าปรับเพิ่มขึ้นถึง 1,786 ล้านบาท เพิ่ทขึ้นถึง 300% ที่รัฐต้องจ่ายเพิ่มขึ้น
2) ในส่วนของงบลงทุนเป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ คือคอมพิวเตอร์ ทั้งในส่วนของงานบริหารที่ราชพัสดุ ที่เพิ่มขึ้น 31 ล้านบาทและงานทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินได้รับการดูแลตามหลักการอนุรักษ์ ที่เพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท
(จริงๆแล้วการนำไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน)

กรมศุลกากร (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 43)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 2,418 ล้านบาท เป็น 2,744 ล้านบาท โดยงบบุคคลากรกลับลดลงในขณะที่งบดำเนินการกลับเพิ่มขึ้นถึง 10% ไม่สอดคล้องกัน
2) ในส่วนของงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 164.9 ล้านบาท เป็น 510.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 346 ล้านบาท คิดเป็น 209.69% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ 45.489 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร ซึ่งตอนนี้เราเป็นหนี้มากขึ้นเพราะไปกู้มามาก แต่กลับใช้จ่ายอย่างไม่มีประสิทธิภาพ การใช้จ่ายเพื่อการปรับปรุงอาคารนั้นไม่ได้เป็นการกระจายรายได้แต่กระจุกตัวอยู่ที่ผู้รับเหมาไม่กี่ราย และจริงๆแล้วใช้ฝ่ายอาคารสถานที่ของกรมดูแลอยู่แล้ว

กรมสรรพสามิต (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 53)

ประเด็นที่น่าสังเกต งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 1,966.234 ล้านบาท เป็น 2,168.886 ล้านบาท
เป็นงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 64.84 ล้านบาท เป็น 257.7349 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 193 ล้านบาท คิดเป็น 297% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ 159.62 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร ซึ่งตอนนี้เราเป็นหนี้มากขึ้นเพราะไปกู้มามาก แต่กลับใช้จ่ายอย่างไม่มีประสิทธิภาพ การใช้จ่ายเพื่อการปรับปรุงอาคารนั้นไม่ได้เป็นการกระจายรายได้แต่กระจุกตัวอยู่ที่ผู้รับเหมาไม่กี่ราย และจริงๆแล้วใช้ฝ่ายอาคารสถานที่ของกรมดูแลอยู่แล้ว และการนำเงินไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน

กรมสรรพากร (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 61)

ประเด็นที่น่าสังเกต งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 7,195.1904 ล้านบาท เป็น 7,795.8882 ล้านบาท
เป็นงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 274 ล้านบาท เป็น 340 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 66 ล้านบาท คิดเป็น 24% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ 260 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร และการนำเงินไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 69)

ประเด็นที่น่าสังเกต งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 113.4693 ล้านบาท เป็น 114.259.7 ล้านบาท
เป็นงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 1.9 ล้านบาท เป็น 11.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 9 ล้านบาท คิดเป็น 450% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ทั้งหมด และการนำเงินไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 79)

ประเด็นที่น่าสังเกต งบประมาณลดลงจาก 198,032.9974 ล้านบาท เหลือ 189,819.9656 ล้านบาท แต่งบรายจ่ายอื่นกลับเพิ่มขึ้นในระดับที่สูงอย่างผิดสังเกต โดย
- งานตามผลผลิตที่ 1 (หน้า 83) การบริหารจัดการหนี้สาธารณะ
งบประมาณในส่วนของรายจ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจาก 6 ล้านบาท เป็น 488 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 8,033% ซึ่งรายจ่ายที่มากที่สุดคือ การนำไปชำระเงินทุนจัดตั้ง Credit Guarantee and Investment Facility (CGIF) สูงถึง 476 ล้านบาท ซึ่งสูงเกินไปสำหรับการจัดตั้งหน่วยงานและในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะเป็นหนี้สินล้นตัวเช่นนี้

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 89)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 285.5401 ล้านบาท เป็น 638.1488 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 123.85% ในขณะที่หน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานวิชาการ และงานส่วนใหญ่เป็นงานเอกสารคือวิเคราะห์เศรษฐกิจ การปรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้จึงไม่สมเหตุผลต่อภาระหน้าที่ของหน่วยงาน
2) ในส่วนของงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 19 ล้านบาท เป็น 44 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 22 ล้านบาท คิดเป็น 116% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ ทั้งหมด และการนำเงินไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน
3) ยังมีงบประมาณในส่วนของรายจ่ายอื่น ที่เพิ่มขึ้นจาก 76 ล้านบาท เป็น 403 ล้านบาท(หน้า 95) เพิ่มขึ้นถึง 327 ล้านบาท คิดเป็น 430%

สรุป
การเสนอใช้งบประมาณปี 2554 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งถือเป็นกระทรวงที่มีหน้าที่บริหารจัดการการคลังของประเทศให้มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ต้องมีวินัยในการใช้จ่ายและเคร่งครัดในการใช้จ่ายตามความเหมาะสมและสมเหตุผล นอกจากนี้ยังต้องบริหารงบประมาณใช้จ่ายให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและฐานะการคลังของประเทศเป็นสำคัญ ประกอบกับต้องบริหารจัดการหารายได้เข้าประเทศให้มาก แต่จากร่างงบประมาณปี 2554 ของกระทรวงการคลัง ในทุก ๆ หน่วยงาน พบว่าขาดวินัยทางการคลังอย่างสิ้นเชิง ขาดความสอดคล้องกับฐานะการคลังอย่างชัดเจน และขาดความเหมาะสมในภาระหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งมีข้อผิดสังเกตในการที่จะไปสู่การเปิดช่องโหว่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นได้โดยง่าย

วิเคราะห์งบฯกระทรวงอุตสาหกรรม


วิเคราะห์งบประมาณกระทรวงอุตสาหกรรม

ดร.เบญจวรรณ จันทระ
10 มิถุนายน 2553

ภาพรวม (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 เล่ม 9 หน้า 249-355)
งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 5,601.945 ล้านบาท เป็น 6,749.9634 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,148.018 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 20.49%

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) การเบิกจ่ายงบประมาณปีที่ผ่านมาทั้งปี 2552 และ 2553 เบิกจ่ายจริงต่ำกว่าแผนในทุกหน่วยงาน แต่งบปี 2554 กลับมีการของบประมาณเพิ่มขึ้นอีกในทุกหน่วยงาน

ประเด็นที่น่าสังเกต 2) มีค่าใช้จ่ายในส่วนของการจ้างที่ปรึกษาและบุคลากรในแต่ละโครงการตั้งงบประมาณไว้สูงมาก เฉลี่ยแต่ละโครงการคิดเป็น 60% ของงบประมาณในแต่ละโครงการ การจ่ายค่าตอบแทนนี้ซ้ำซ้อนกับค่าจ้างบุคลากรประจำหรือไม่ หากเป็นคนละส่วนกัน ขอคำชี้แจงเรื่องการจ้างบุคลากรในแต่ละโครงการ และจำนวนบุคลากรประจำ

ประเด็นที่น่าสังเกต 3) ที่ผ่านมากระทรวงไม่มีผลงานอะไรในเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนโดยดูได้จากการขาดประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณโดยเฉพาะโครงการที่สนับสนุนในเชิงนโยบายและนำไปสู่การปฏิบัติงานให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ และเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทย แต่กลับของงบประมาณเพิ่มเติม และส่วนใหญ่นำไปใช้ในโครงการต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาซึ่งโครงการเหล่านั้นไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ยังดำเนินการต่อ แสดงให้เห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพอย่างชัดเจน

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 เล่ม 9 หน้า 255)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณจาก 1,164.2724 ล้านบาท เป็น 1,435.451 ล้านบาท โดยเป็นงบดำเนินการเพิ่มจาก 44.247 ล้านบาท เป็น 102.0978 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 57.8508 ล้านบาท คิดเป็น 130.75% ในขณะที่ไม่ได้จ้างบุคลากรเพิ่ม
2) ในส่วนของงบลงทุนกลับเพิ่มขึ้น 100% เพราะปีที่แล้วไม่มี แต่ปี 2554 ตั้งงบไว้เพื่อนำไปซื้อครุภัณฑ์และปรับปรุงอาคาร ซึ่งมีราคาที่สูงเกินจริงเมื่อเทียบกับราคาตลาด

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 เล่ม 9 หน้า 281)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณจาก 964.7373 ล้านบาท เป็น 1,058.6264 ล้านบาท โดยเป็นงบรายจ่ายอื่น 605.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8 % โดยนำไปใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาสูงถึง 309.891 ล้านบาท คิดสัดส่วนเป็น 64.5% ของงบในส่วนนี้

ประเด็นที่น่าสังเกต 2) ข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาในโครงการต่างๆ
- โครงการพัฒนาขีดความสามารถของไทยในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้งบประมาณจ้างที่ปรึกษาสูงถึง 37.5 ล้านบาท (เอกสารชี้แจง หน้า 19)
- กิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ใช้งบประมาณจ้างที่ปรึกษาสูงถึง 22.5 ล้านบาท (เอกสารชี้แจง หน้า 22) เพิ่มจากปี 2553 ถึง 67.66%
- โครงการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจ SMEs ในภาคอุตสาหกรรม ใช้งบประมาณจ้างที่ปรึกษาสูงจาก 63.705 ล้านบาท เป็น 110.85 ล้านบาท (เอกสารชี้แจง หน้า 32) เพิ่มจากปี 2553 ถึง 74% โดยมีการจ้างที่ปรึกษาในจำนวนที่สูงมากถึง 394 คน กับโครงการระยะเวลา 3 เดือน ไม่โปร่งใสอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวสูงถึง 11.625 ล้านบาท ซึ่งหากพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่ต้องเสียงบประมาณไปจ้างที่ปรึกษาที่สูงถึง 110.85 ล้านบาท
- กิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ใช้งบประมาณจ้างที่ปรึกษาสูงจาก 13.59 ล้านบาท เป็น 22.5 ล้านบาท (เอกสารชี้แจง หน้า 35) และเมื่อดูวัตถุประสงค์แล้วซ้ำซ้อนกับ โครงการพัฒนาขีดความสามารถของไทยในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กิจกรรมการเสริมสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ใช้งบประมาณจ้างที่ปรึกษาสูงจาก 118.238 ล้านบาท เป็น 161.5 ล้านบาท (เอกสารชี้แจง หน้า 37) เพิ่มจากปี 2553 ถึง 36.59%
- กิจกรรมการให้บริการปัจจัยสนับสนุนการประกอบการ ใช้งบประมาณจ้างที่ปรึกษาสูงจาก 1.75 ล้านบาท เป็น 5.5 ล้านบาท (เอกสารชี้แจง หน้า 39) เพิ่มจากปี 2553 ถึง 214% ซึ่งเป็นโครงการซ้ำซ้อนกับกิจกรรมการเสริมสร้างผู้ประกอบการรายใหม่

ประเด็นที่น่าสังเกต 3) โครงการต่างๆเป็นโครงการต่อเนื่องทั้งหมด ซึ่งโครงการต่อเนื่องหมายถึง เป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติเงินไปแล้ว แต่กลับมาขอซ้ำอีก หรือจริงๆแล้วเป็นโครงการระยะยาว โดยเบิกจ่ายตามภาระผูกพัน

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 เล่ม 9 หน้า 295 และ เอกสารชี้แจงของหน่วยงาน)
งบประมาณจาก 305.3287 ล้านบาท เป็น 393.853 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.99%

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) ในผลผลิตที่ 1(เอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 เล่ม 9 หน้า 299 ข้อ 7.1.1 ) ในข้อ 2 เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่อุตสาหกรรมพื้นฐาน และภาคอุตสาหกรรมให้มีความสามารถในการผลิตและมีมูลค่าที่สูงขึ้น โดยมีเป้หมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ทั้งปี 2553 และปี 2554 ใช้เป้าหมายเดียวกัน ในขณะที่ปี 2554 กลับของบเพิ่มขึ้น(เป้าหมายไม่ได้เพิ่มขึ้น) จาก 119.717 ล้านบาทเป็น 159.7749 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.6049 ล้านบาท เพิ่ม 33%

ประเด็นที่น่าสังเกต 2) งบรายจ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจาก 30.75 ล้านบาท เป็น 69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.25 ล้านบาท เพิ่มถึง 124.39% เป็นรายจ่ายในโครงการต่างๆ สำหรับจ่ายค่าจ้างที่ปรึกษา สูงถึง 57.4 ล้านบาท เป็นสัดส่วนถึง 83% ของงบประมาณในส่วนนี้ นอกจากนี้ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษาแต่ละโครงการต่อคนต่อเดือน ไม่เท่ากัน ในขณะที่ประสบการณ์เท่ากันและเป็นโครงการระดับเดียวกัน เช่นในตำแหน่งหัวหน้าโครงการบางโครงการจัดสรรให้เดือนละ 123,200 บาทต่อคน บางโครงการจัดสรรให้เดือนละ 70,400 บาทต่อคน

ประเด็นที่น่าสังเกต 3) เมื่อมีการจ้างที่ปรึกษาในโครงการต่างๆพร้อมจ้างบุคลากรในการดำเนินในโครงการต่างๆด้วย ดังนั้นงบประมาณในส่วนของงบดำเนินงานและค่าจ้างบุคลากรประจำของหน่วยงานซ้ำซ้อนกัน เปิดช่องให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างมาก

ประเด็นที่น่าสังเกต 4) มีหลายโครงการที่ของบประมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2553 เป็นเท่าตัว ในขณะที่ผลงานและผลสัมฤทธิ์จากปี 2553 ยังไม่ปรากฏ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโครงการนั้นไม่มีประสิทธิภาพ แต่กลับยังของบประมาณต่อเนื่อง ทำให้สูญเสียงบประมาณไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

ประเด็นที่น่าสังเกต 5) มีบางโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันแต่แยกโครงการ เช่นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาการเชื่อมโยงโซ่อุปทานและปัจจัยพื้นฐานสำหรับภาคอุตสาหกรรมโดยปี 2553 งบประมาณอยู่ที่ 3 ล้านบาท แต่ปี 2554 ขอเพิ่มเป็น 31.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 956.67% ในขณะที่โครงการนี้ยังไม่มีผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน แต่กลับของบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก อีกทั้งยังซ้ำซ้อนกับโครงการจัดทำระบบสารสนเทศโซ่อุปทานอุตสาหกรรมพื้นฐานรายสาขา ซึ่งของบใช้จ่ายถึง 24 ล้านบาท เพราะการทำโครงการแรก ก็จะได้ผลในโครงการที่สองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำโครงการซ้ำซ้อนกัน

ประเด็นที่น่าสังเกต 6) ในผลผลิตของหน่วยงานเกี่ยวกับ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม จากงบประมาณปี 2552 คือ 5.8 ล้านบาท ปี 2553 ปรับขึ้นเป็น 6.9 ล้านบาท และในปี 2554 ของบสูงถึง 21.35 ล้านบาท เพิ่มถึง 209.4% เมื่อเทียบกับปี 2553 ในขณะที่เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายเป็นสำคัญ ดังนั้นการของบประมาณที่สูงอย่างมากจึงไม่เหมาะสมกับภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 เล่ม 9 หน้า 307 และ เอกสารชี้แจงของหน่วยงาน)
งบประมาณจาก 373.8315 ล้านบาท เป็น 739.7138 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 365.8823 ล้านบาท เพิ่มขึ้นคิดเป็น 97.87% ซึ่งเป็นหน่วยงานเชิงนโยบาย ที่มีหน้าที่เสนอแนะ ชี้นำ และกำกับดูแลอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เกิดความเป็นธรรม และแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณปี 2552 คือ 389.33 ล้านบาท เบิกจ่ายจริง ณ 30 ก.ย. 2552 เท่ากับ 341.9862 ล้านบาท คิดเป็นเบิกจ่ายจริงเพียง 88.8% ส่วนงบประมาณปี 2553 คือ 373.83 ล้านบาท เบิกจ่ายจริง ณ 30 เม.ย. 2553 เท่ากับ 266.1403 ล้านบาท คิดเป็นเบิกจ่ายจริงเพียง 71.1927% นั่นแสดงให้เห็นถึงการไม่มีประสิทธิภาพอีกทั้งยังปรากฏผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน แต่กลับจัดทำของบประมาณเพิ่มขึ้นในปี 2554 เพิ่มอีก 365.8823 ล้านบาท ซึ่งไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการเบิกจ่าย อีกทั้งยังบ่งบอกได้ถึงความไม่โปร่งใสในการของบประมาณอีกด้วย

ประเด็นที่น่าสังเกต 2) ในส่วนของงบภาระผูกพัน คือค่าใช้จ่ายในการเช่ายานพาหนะ ที่มีมูลค่าสูงถึง 22.8552 ล้านบาท หากจัดทำเป็นการซื้อเลยจะเสียค่าใช้จ่ายในระยะยาวต่ำกว่านี้มาก แสดงให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ดี

ประเด็นที่น่าสังเกต 3) มีการจ้างที่ปรึกษาในโครงการต่างๆ เช่นเดียวกับหน่วยงานอื่นๆ พร้อมจ้างบุคลากรในการดำเนินในโครงการต่างๆด้วย ดังนั้นงบประมาณในส่วนของงบดำเนินงานและค่าจ้างบุคลากรประจำของหน่วยงานซ้ำซ้อนกัน เปิดช่องให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างมาก

ประเด็นที่น่าสังเกต 4) มีบางโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันแต่แยกโครงการ เช่นโครงการการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย (ตามเอกสารชี้แจงหน้า 24) ที่มีงบประมาณถึง 42.6 ล้านบาท กับโครงการค่าใช้จ่ายในการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาด้านอ้อย (ตามเอกสารชี้แจงหน้า 43) ที่มีงบประมาณถึง 21 ล้านบาทซึ่งมีวัตถุประสงค์เดียวกัน และได้ผลลัพธ์เดียวกัน

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 เล่ม 9 หน้า 321 และ เอกสารชี้แจงของหน่วยงาน)
งบประมาณจาก 605.1564 ล้านบาท เป็น 757.3296 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 152.1732 ล้านบาท เพิ่มขึ้นคิดเป็น 25.15% ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณปี 2552 คือ 675.6197 ล้านบาท เบิกจ่ายจริง ณ 30 ก.ย. 2552 เพียง 71.5% ส่วนงบประมาณปี 2553 คือ 605.1564 ล้านบาท เบิกจ่ายจริง ณ 30 เม.ย. 2553 เพียง 36.29% นั่นแสดงให้เห็นถึงการไม่มีประสิทธิภาพอีกทั้งยังปรากฏผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน และเหลือเวลาสิ้นสุดงบประมาณอีกเพียง 4 เดือน ซึ่งเบิกจ่ายไม่ทันอย่างแน่นอน แต่กลับจัดทำของบประมาณเพิ่มขึ้นในปี 2554 เพิ่มอีก 25.15% ซึ่งไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการเบิกจ่าย และแสดงว่าจัดทำงบประมาณเกินจริงมากกว่า 60% นั่นคือความไม่โปร่งใสในการของบประมาณปี 2554 นี้

ประเด็นที่น่าสังเกต 2) ตามผลผลิตที่ 1 คือ มาตรฐานที่กำหนดและร่วมกำหนด ในปี 2553 ของบไว้ 105.2652 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายจริงแล้วเพียง 47.6% และมีผลสัมฤทธิ์คือจำนวนเรื่องที่ดำเนินการทั้งหมด 830 เรื่อง แต่ในปี 2554 กลับของบประมาณเพิ่มเป็น 116.766 ล้านบาท เพิ่มขึ้นคิดเป็น 10.9% ในขณะที่เป้าหมาย คือจำนวนเรื่องที่ดำเนินการทั้งหมด 847 เรื่อง เป้าหมายเพิ่ม 2% แต่ของบเพิ่มถึง 10.9%

ประเด็นที่น่าสังเกต 3) ตามผลผลิตที่ 2 คือ ผู้ประกอบการได้รับการรับรองมาตรฐาน ในปี 2553 ของบไว้ 196.6723 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายจริงแล้วเพียง 80.1654 ล้านบาท คิดเป็น 40.76% แต่ในปี 2554 ของบประมาณเพิ่มเป็น 470.4267 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 273.7544 ล้านบาท คิดเป็น 139.19% ในขณะที่เป้าหมายไม่ได้แตกต่างจากผลสัมฤทธิ์ แต่กลับของบเพิ่มขึ้นอย่างผิดสังเกต ซึ่งผลสัมฤทธิ์ที่ได้ตามรายงานจากเอกสารชี้แจง หน้า 19 เป็นการใช้งบประมาณเพียง 80.1654 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าทำงบประมาณเกินจริงถึง 390.2613 ล้านบาท ชัดเจนในเรื่องความไม่โปร่งใสในการจัดทำงบประมาณ

ประเด็นที่น่าสังเกต 4) ในส่วนของงบภาระผูกพัน คือค่าใช้จ่ายในการเช่ายานพาหนะ หากจัดทำเป็นการซื้อเลยจะเสียค่าใช้จ่ายในระยะยาวต่ำกว่านี้มาก แสดงให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ดี

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 เล่ม 9 หน้า 347 และ เอกสารชี้แจงของหน่วยงาน)
งบประมาณจาก 850.3608 ล้านบาท เป็น 963.168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 112.8072 ล้านบาท เพิ่มขึ้นคิดเป็น 13.26% ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณปี 2552 ในส่วนของแผนการลงทุนในประเทศ ตั้งงบประมาณไว้ที่ 672.01 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายจริงเพียง 535.46 ล้านบาท คิดเป็น 79.68% ในปี 2553 ตั้งงบประมาณไว้ที่ 850.36 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายจริงเพียง 399.01 ล้านบาท(ณ 30 เม.ย. 2553) คิดเป็น 46.922% ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 4 เดือน จะสิ้นสุดปีงบประมาณ คาดการณ์ว่าทำการเบิกจ่ายไม่ทันอย่างแน่นอน แต่กลับจัดทำงบประมาณปี 2554 เพิ่มขึ้นอีก จากงบปี 2553 ที่ยังเบิกจ่ายไม่ครบ ซึ่งหากคิดจากงบประมาณปี 2552 ที่เบิกจ่ายจริงจะพบว่ามีการตั้งงบประมาณปี 2554 ไว้สูงเกินจริงถึง 79.88%

สรุป

กระทรวงอุตสาหกรรมทำการจัดทำของบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 เพิ่มขึ้นในทุกๆหน่วยงาน แต่ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการต่างๆในแต่ละหน่วยงาน ยังขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างชัดเจน แต่กลับของบประมาณเพิ่มสูงเกินจริงเฉลี่ยถึง 60% ซึ่งงบประมาณที่เพิ่มขึ้นนี้ รัฐบาลต้องทำการกู้ยืมเพื่อมาชดเชยการขาดดุล ทำให้ประเทศต้องเป็นหนี้อย่างไม่จำเป็น ดังนั้นหากจัดทำงบประมาณตามความเป็นจริงและมีความโปร่งใสก็จะไม่ต้องทำการกู้หนี้สาธารณะ ประชาชนก็จะไม่เป็นหนี้ที่ไม่สมเหตุผลอีกต่อไป