Friday, May 6, 2011

นโยบายลดภาษีนิติบุคคล




นโยบายลดภาษีนิติบุคคล แค่หาเสียงหรือของจริง

by Dr. Benchawan Chantara
http://www.facebook.com/profile.php?id=100001243810390

ปัจจุบันภาครัฐมีรายได้จากการเก็บภาษีรายได้นิติบุคคลในสัดส่วน 22.8% ของรายได้ภาครัฐทั้งหมด โดยในปี 2553 มูลค่าจากการเก็บภาษีรายได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 454,565 ล้านบาท จากจำนวนนิติบุคคลทั้งประเทศจำนวน 535,538 ราย แบ่งเป็นบริษัทจำกัด 340,838 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำนวน 192,528 ราย ห้างหุ้นส่วนสามัญจำนวน 1,273 ราย และบริษัทมหาชนจำนวน 899 ราย

ทั้งนี้ สัดส่วนของบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 1ล้านบาทอยู่ที่ร้อยละ 17 บริษัทที่มีทุนจดทะเบียนระหว่าง 1- 4.9 ล้านบาท มีจำนวนร้อยละ73.79 บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 5-9.9 ล้านบาท มีจำนวนร้อยละ 4 บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 10 – 99.99 ล้านบาท มีจำนวนร้อยละ 2.4 ส่วนบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาทขึ้นไปมีจำนวนร้อยละ 0.5

ดังนั้น แนวนโยบายลดเพดานภาษีรายได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 20

โดย ในระยะสั้นรัฐจะสูญเสียรายได้ แต่ในระยะยาวการลดภาษีนิติบุคคล จะทำให้ระดับรายได้ของประเทศปรับตัวสูงขึ้น จากการพิสูจน์ด้วยแบบจำลองผลิตภาพการผลิต ซึ่งพบว่าลดการเก็บมูลค่าภาษีรายได้นิติบุคคลลง 1% จะทำให้ ระดับรายได้ประชาชาติ เพิ่มขึ้น 0.132%

Y = 0.1063 K0.9 L0.29 TAXco-0.132



กล่าวคือ หาก ลดการเก็บมูลค่าภาษีรายได้นิติบุคคลลง 1% จะทำให้ ระดับรายได้ประชาชาติ เพิ่มขึ้น 0.132% ดังตารางที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในรายได้จากภาษีของรัฐ กรณีใช้เครื่องมือทางภาษี



จากการที่พรรคการเพื่อไทยออกนโยบายด้วยการปรับลดภาษีนิติบุคคลลงเหลือ23% ในปี 2555 จะมีผลให้รายได้ของรัฐในส่วนนี้ลดลง 56,186.21115 ล้านบาท และลดลงอีกในปี 2556 เหลือ 20% จะมีผลให้รายได้จากภาษีนิติบุคคลลดลงอีกจำนวน 42,351.3748ล้าน บาท แต่ทั้งนี้ในอีกด้านหนึ่งการลดภาษีนิติบุคคลลงจะมีผลให้เกิดการกระตุ้น เศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย โดยอำนาจซื้อของคนเพิ่มขึ้น มีการจูงใจให้การลงทุนมากขึ้นเพราะกำไรมากขึ้น และถ้านำกำไรที่ได้ไปเพิ่มค่าแรง ก็จะส่งผลให้ประชาชนมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้นทั้งระบบ สุดท้ายเศรษฐกิจภาพรวมจึงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนปัจจัยภาษีที่ลดลงจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตได้ร้อยละ 0.924 และร้อยละ 1.32 ในปี 2555 และปี 2556 ตามลำดับ