Friday, March 11, 2011

ประเมินการบริหารเศรษฐกิจ


การประเมินผลการบริหารนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปี2553/2554
ดร.เบญจวรรณ จันทระ


จากผลการประเมินนโยบายกู้เงิน ในโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใน 5 โครงการ คือ
1. โครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น
2. โครงการแหล่งน้ำขนาดเล็ก
3. โครงการประกันรายได้เกษตรกร
4. โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
5. โครงการเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ


ซึ่งมีผลการประเมินของ สศช. ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวทั้ง 5 โครงการอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารจัดการโครงการ ที่ยังต้องมีการปรับปรุงให้ตอบสนองความ

ต้องการของประชาชนในพื้นที่โครงการไห้เกิดมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาคมมีส่วนร่วมในการกำกับ ดูแล และตรวจสอบการดำเนินโครงการได้ อีกทั้งการดำเนินโครงการขาดกลไกและกระบวนการที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญขาดการเข้าถึงและใช้บริการ ที่รัฐจัดให้ยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

ดังนั้น การกู้เงิน 400,000 ล้านบาท ในปี 2553 ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มในประเทศ ไม่เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างที่รัฐบาลอ้าง แต่ทำให้ประเทศเป็นหนี้จริงเพิ่มขึ้น ซ้ำยังเกิดการทุจริตในโครงการของรัฐอย่างมากมายแต่ไม่มีการตรวจสอบ

สดงให้เห็นว่าคณะผู้บริหารของประเทศ จัดทำโครงการต่างๆอย่างไม่รอบคอบ ไม่มีการประเมินผลกระทบด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการจ้าง ว่ามีความคุ้มค่าอย่างไร

นอกจากนี้คณะรัฐบมนตรีได้รับทราบผลการประเมินจาก สศช.ไปแล้วในวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2554 และยังรับทราบปัญหาจากการอภิปรายผลการทำงานของรัฐในรอบ 1 ปี (2552-2553) ว่ามีประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหาค้างคาทั้งเรื่อง

• เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง
• วิกีลิกส์นำบทสนทนาของบุคคลระดับสูงของไทย 3 คนที่สนทนากับเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยในลักษณะเข้าข่ายประทุษร้ายต่อองค์รัชทายาทและมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก แต่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการใด ๆ
• การทุจริตในการดำเนินโครงการต่าง ๆ และละเลยในการแก้ปัญหาการทุจริต
• ปัญหาสินค้าราคาแพง


ซึ่งเมื่อครม. รับทราบแล้ว ควรต้องดำเนินการแก้ไข แต่ปรากฎว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของประชาชน และรัฐบาลรับทราบ แต่ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหา กลับมีความจงใจปล่อยให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เช่น ปล่อยให้สินค้าบางตัวขาดแคลน และจงใจทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น เพื่อหวังเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งรัฐบาลไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง การที่อ้างได้ว่าสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น เพื่อนำไปออกงบเงินกู้กลางปี 100,000 บาท จึงเป็นการสร้างภาระทางการคลังของประเทศและสร้างภาระให้ประชาชนมากยิ่งขึ้น

ที่ชัดเจนคือเรื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่วันนี้ รัฐบาล เก็บเงินเข้ารัฐสูงสุดถึงลิตรละ 18.5 กล่าวคือ ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ที่วันนี้ราคาขายปลีกในประเทศอยู่ที่ลิตรละ 46.94 บาท แต่หากมองดูต้นทุนบวกค่าการตลาดพบว่ามีราคาอยู่ที่ 28.41 บาทต่อลิตร ที่เหลือคือเงินที่เข้ารัฐ หรือแม้แต่แก๊สโซฮอลย์ 95 ที่มีผู้ใช้มากที่สุด เงินที่เข้ารัฐก็สูงถึงลิตรละ 12 บาท จึงทำให้วันนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขูดรีดเงินจากประชาชนผ่านภาษีน้ำมันและกองทุนน้ำมันฯ สูงถึงปีละ 70,000 ล้านบาท ดังตาราง



ในขณะที่บทสรุปของนโยบายประกันรายได้ คือชาวนายกจนลง การที่รัฐประกันรายได้

ข้าวขาว 5% ที่ 11,000 บาทต่อตัน ณ ราคาอ้างอิง 8,871 บาทต่อตัน แต่ชาวนาขายข้าวได้จริงเพียงตันละ 6,000 บาทเท่านั้น
ขณะที่ในปี 2551 ที่มีการรับจำนำราคาข้าวที่เกษตรกรเคยขายได้สูงสุดที่ 16,000 บาทต่อตัน

และวันนี้ประชาชนคนไทยต้องซื้อข้าวสารขาว 5% สูงถึงตันละ 26,866 บาท รัฐบาลชุดนี้ใช้งบประมาณในนโยบายประกันรายได้ถึงปีละ 50,000 ล้านบาท

ในขณะที่โครงการรับจำนำในอดีต ใช้งบประมาณเพียงปี 28,000 ล้านบาท และยังมีรายได้
กลับเข้ารัฐอีกจากการขายข้าวที่รับจำนำ

ทั้งผลการประเมินของสศช. และข้อมูลจากส่วนต่างๆซึ่งเป็นรายงานของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการเรียกร้องของเกษตรกร น่าจะเป็นเสียงสะท้อนอย่างดีให้รัฐบาลหันมาฉุกคิดและปรับเปลี่ยนการบริหารบ้านเมืองให้มีความรอบคอบ และใช้ความรู้ความสามารถเพื่อประชาชนคนไทยที่ต่างรอคอยให้เศรษฐกิจทั้งของตนเองและของประเทศดีขึ้นอย่างแท้จริง มิใช่แค่ภาพลวงตาเหมือนที่ผ่านมา.







นโยบายประกันรายได้


ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างนโยบายประกันรายได้กับนโยบายรับจำนำ
ดร.เบญจวรรณ จันทระ


นโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร ประเภท ข้าวเปลือก เพื่อช่วยเหลือชาวนา ในช่วงราคาข้าวตกต่ำ ซึ่งมี 2 แนวทางที่นิยมใช้กันคือ การประกันรายได้ขั้นต่ำ และการรับจำนำ

โดยการประกันรายได้ขั้นต่ำ เป็นการกำหนดราคาขั้นต่ำของข้าวเปลือก ซึ่งเป็นการรับรองว่าชาวนาต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าที่รับบาลประกาศ ทั้งนี้ภาครัฐจะมีการประกาศราคาข้าวอ้างอิงโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นราคาที่ตลาดต้องขายไม่ต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศ แต่หากราคาประกันสูงกว่าราคาอ้างอิง รัฐบาลก็จะจ่ายส่วนต่างให้

ข้อดีของมาตรการนี้คือ เงินงบประมาณถึงมือชาวนาทุกคน แต่ก็มีข้อเสียคือ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพราะต้องจ่ายให้ชาวนาทุกคนที่มีพื้นที่เพาะปลูก โดยไม่สนใจว่าจะทำการเพาะปลูกจริงหรือไม่ จึงอาจทำให้งบประมาณที่ใช้ไปไม่มีประสิทธิภาพ และเป็นการแจกเงินมากกว่าสนับสนุนให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนการรับจำนำ เป็นการยกระดับราคาสินค้าในช่วงราคาตกต่ำ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
มีหลักการคือ ชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดหรือ โดยดึงผลผลิตส่วนเกินออกจากระบบ มีวิธการ 3 มาตรการคือ

 การรับจำนำจากภาครัฐ โดยกำหนดราคาเป้าหมายและจำนวนรับจำนำ
 การกระจายผลผลิต ออกนอกพื้นที่เพาะปลูกให้เร็วที่สุด
 การรับซื้อโดยตรงจากภาครัฐ ตามราคาเป้าหมาย

ดำเนินการผ่านกองทุนภาครัฐ ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) และกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รวมถึงการให้สินเชื่อผ่านสถาบันการเงินภาครัฐ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ข้อดีคือ เมื่อภาวะราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาสามารถนำข้าวไปจำนำไว้กับภาครัฐได้ และเมื่อภาวะที่ข้าวราคาสูงก็สามารถซื้อคืนข้าวจากภาครัฐในราคาที่รับจำนำเพื่อนำมาขายในราคาที่สูงขึ้นได้ แต่ก็มีข้อเสียคือ หากบริหารจัดการไม่ดีและไม่เข้มงวดจะเกิดช่องโหว่ของการทุจริตได้ง่าย และหากโกดังที่เก็บไม่มีมาตรฐานจะส่งผลเสียหายต่อคุณภาพข้าวที่เก็บไว้ได้

สำหรับผลสัมฤทธิ์ ของการใช้นโยบายประกันรายได้กับรับจำนำ สามารถวิเคราะห์ได้สองส่วนใหญ่ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการแทรกแซงคือ สามารถยกระดับราคาสินค้าเกษตรได้หรือไม่ และงบประมาณที่ใช้มากน้อยเพียงไร และเกิดความคุ้มค่าหรือไม่ บนพื้นฐานของการควบคุมการทุจริตได้

ซึ่งพบว่าการใช้นโยบายประกันรายได้ ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ณ เดือนมีนาคม 2554 มีราคา ณ ราคาตลาด ลดลงมาอยู่ที่ 8,847 บาทต่อตัน และเคยสูงสุดอยู่ที่ตันละ 9,000 บาท แต่ชาวนาขายได้จริง 6,000 บาทต่อตัน
ส่วนการใช้นโยบายรับจำนำข้าว ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ในปี 2551 เฉลี่ยที่ 12,000 บาทต่อตัน และเคยสูงสุดที่ระดับ 16,000 บาทต่อตัน และเป็นราคาที่ชาวนาขายได้จริง

สำหรับการใช้งบประมาณในมาตรการประกันรายได้ รัฐต้องใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 50,000 ล้านบาท ส่วนมาตรการรับจำนำใช้งบประมาณปีละ 28,000 ล้านบาท รวมกับค่าใช้จ่ายเช่าโกดังอีกปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท



จากข้อมูลข้างต้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มาตรการประกันรายได้ใช้งบประมาณสูงกว่า มาตรการรับจำนำเกือบเท่าตัว อีกทั้งยังทำให้ราคาขายในประเทศตกต่ำลง ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแทรกแซงราคาข้าวเพื่อชาวนา ทั้งนี้เพราะการที่ไปกำหนดราคาประกันนั้นเป็นการกำหนดเพดานของราคาขายข้าวในประเทศไปโดยปริยาย ดังนั้นหากราคาตลาดโลกไม่ขยับขึ้นสูงอย่างรุนแรงจริงๆ ราคาในประเทศก็จะอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ต้นทุนไม่ได้ถูกกดเพดานไว้ตาม