Friday, March 11, 2011

นโยบายประกันรายได้


ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างนโยบายประกันรายได้กับนโยบายรับจำนำ
ดร.เบญจวรรณ จันทระ


นโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร ประเภท ข้าวเปลือก เพื่อช่วยเหลือชาวนา ในช่วงราคาข้าวตกต่ำ ซึ่งมี 2 แนวทางที่นิยมใช้กันคือ การประกันรายได้ขั้นต่ำ และการรับจำนำ

โดยการประกันรายได้ขั้นต่ำ เป็นการกำหนดราคาขั้นต่ำของข้าวเปลือก ซึ่งเป็นการรับรองว่าชาวนาต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าที่รับบาลประกาศ ทั้งนี้ภาครัฐจะมีการประกาศราคาข้าวอ้างอิงโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นราคาที่ตลาดต้องขายไม่ต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศ แต่หากราคาประกันสูงกว่าราคาอ้างอิง รัฐบาลก็จะจ่ายส่วนต่างให้

ข้อดีของมาตรการนี้คือ เงินงบประมาณถึงมือชาวนาทุกคน แต่ก็มีข้อเสียคือ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพราะต้องจ่ายให้ชาวนาทุกคนที่มีพื้นที่เพาะปลูก โดยไม่สนใจว่าจะทำการเพาะปลูกจริงหรือไม่ จึงอาจทำให้งบประมาณที่ใช้ไปไม่มีประสิทธิภาพ และเป็นการแจกเงินมากกว่าสนับสนุนให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนการรับจำนำ เป็นการยกระดับราคาสินค้าในช่วงราคาตกต่ำ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
มีหลักการคือ ชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดหรือ โดยดึงผลผลิตส่วนเกินออกจากระบบ มีวิธการ 3 มาตรการคือ

 การรับจำนำจากภาครัฐ โดยกำหนดราคาเป้าหมายและจำนวนรับจำนำ
 การกระจายผลผลิต ออกนอกพื้นที่เพาะปลูกให้เร็วที่สุด
 การรับซื้อโดยตรงจากภาครัฐ ตามราคาเป้าหมาย

ดำเนินการผ่านกองทุนภาครัฐ ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) และกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รวมถึงการให้สินเชื่อผ่านสถาบันการเงินภาครัฐ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ข้อดีคือ เมื่อภาวะราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาสามารถนำข้าวไปจำนำไว้กับภาครัฐได้ และเมื่อภาวะที่ข้าวราคาสูงก็สามารถซื้อคืนข้าวจากภาครัฐในราคาที่รับจำนำเพื่อนำมาขายในราคาที่สูงขึ้นได้ แต่ก็มีข้อเสียคือ หากบริหารจัดการไม่ดีและไม่เข้มงวดจะเกิดช่องโหว่ของการทุจริตได้ง่าย และหากโกดังที่เก็บไม่มีมาตรฐานจะส่งผลเสียหายต่อคุณภาพข้าวที่เก็บไว้ได้

สำหรับผลสัมฤทธิ์ ของการใช้นโยบายประกันรายได้กับรับจำนำ สามารถวิเคราะห์ได้สองส่วนใหญ่ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการแทรกแซงคือ สามารถยกระดับราคาสินค้าเกษตรได้หรือไม่ และงบประมาณที่ใช้มากน้อยเพียงไร และเกิดความคุ้มค่าหรือไม่ บนพื้นฐานของการควบคุมการทุจริตได้

ซึ่งพบว่าการใช้นโยบายประกันรายได้ ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ณ เดือนมีนาคม 2554 มีราคา ณ ราคาตลาด ลดลงมาอยู่ที่ 8,847 บาทต่อตัน และเคยสูงสุดอยู่ที่ตันละ 9,000 บาท แต่ชาวนาขายได้จริง 6,000 บาทต่อตัน
ส่วนการใช้นโยบายรับจำนำข้าว ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ในปี 2551 เฉลี่ยที่ 12,000 บาทต่อตัน และเคยสูงสุดที่ระดับ 16,000 บาทต่อตัน และเป็นราคาที่ชาวนาขายได้จริง

สำหรับการใช้งบประมาณในมาตรการประกันรายได้ รัฐต้องใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 50,000 ล้านบาท ส่วนมาตรการรับจำนำใช้งบประมาณปีละ 28,000 ล้านบาท รวมกับค่าใช้จ่ายเช่าโกดังอีกปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท



จากข้อมูลข้างต้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มาตรการประกันรายได้ใช้งบประมาณสูงกว่า มาตรการรับจำนำเกือบเท่าตัว อีกทั้งยังทำให้ราคาขายในประเทศตกต่ำลง ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแทรกแซงราคาข้าวเพื่อชาวนา ทั้งนี้เพราะการที่ไปกำหนดราคาประกันนั้นเป็นการกำหนดเพดานของราคาขายข้าวในประเทศไปโดยปริยาย ดังนั้นหากราคาตลาดโลกไม่ขยับขึ้นสูงอย่างรุนแรงจริงๆ ราคาในประเทศก็จะอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ต้นทุนไม่ได้ถูกกดเพดานไว้ตาม




No comments:

Post a Comment