Tuesday, June 15, 2010

วิเคราะห์งบฯ กระทรวงการคลัง


วิเคราะห์งบประมาณกระทรวงการคลัง

ดร.เบญจวรรณ จันทระ
8 มิถุนายน 2553

ภาพรวม (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 1 หน้า 23-24)
งบประมาณลดลงจาก 215,709,678,200 บาท หรือ 215,709.6782 ล้านบาท เป็น 209,119.99 ล้านบาท ลดลง 6,590 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 3%

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) กรมที่มีหน้าที่หารายได้กลับมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ดังนี้
- กรมศุลกากรงบประมาณเพิ่มขึ้น 13%
- กรมสรรพสามิตงบประมาณเพิ่มขึ้น 10%
- กรมสรรพากรงบประมาณเพิ่มขึ้น 8%
ซึ่งการเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของงบลงทุน และรายจ่ายในงบลงทุนนั้นเป็นการใช้
จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ทั้งสิ้น ดังนั้นงบประมาณที่ใช้จ่ายไปจึงไม่เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่จะมีผลให้ฐานะการคลังยิ่งขาดดุลมากขึ้น การกู้เงินมาจึงเพื่อนำมาใช้จ่ายในส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดการลงทุนที่แท้จริงแต่กลับนำเงินที่กู้มาไปซื้อของ ซึ่งเงินที่นำไปซื้อของนั้นจ่ายแล้วก็หายไปไม่ได้ก่อให้เกิดการจ้างงาน รายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ประเทศเป็นหนี้มากขึ้น

ประเด็นที่น่าสังเกต 2) นอกจากกรมที่มีหน้าที่หารายได้กลับมารายจ่ายที่มากขึ้น ยังมีสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ที่มีงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างผิดสังเกต โดยเพิ่มขึ้นจาก 86 ล้านบาท(ตัวเลขกลมๆ) เป็น 563 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 477 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 555% ที่ปรับเพิ่มขึ้น
และในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังก็มีการปรับงบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 285 ล้านบาท เป็น 638 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นถึง 123%

หมายเหตุ. ต่อไปนี้จะแสดงตัวเลขงบประมาณเป็นตัวเลขกลมๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย




สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 5-11)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) แม้จะปรับลดงบประมาณลงจาก 1,097 ล้านบาท เหลือ 867 ล้านบาท โดยเป็นงบรายจ่ายอื่นถึง 518.99 ล้านบาท คิดสัดส่วนเป็น 60% ของงบทั้งหมดในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
2) ในส่วนของงบลงทุนกลับลดลงอย่างมาก จาก 169 ล้านบาท เหลือ 6.35 ล้านบาท ลดลงถึง 96% แต่กลับนำไปซื้อ กล้องวงจรปิด 1 ระบบ ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 6.35 ล้านบาท
(จริงๆแล้วการนำไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน)

กรมธนารักษ์ (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 13-20)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 3,092 ล้านบาท เป็น 3,237 ล้านบาท โดยเป็นรายจ่ายเพื่อเช่าพื้นที่ศูนย์ราชการถึง 2,381.28 ล้านบาท ในขณะที่รัฐบาลชุดก่อนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ปี 2551 นั้นอยู่ที่ 595 ล้านบาทเท่านั้น เห็นได้ว่าปรับเพิ่มขึ้นถึง 1,786 ล้านบาท เพิ่ทขึ้นถึง 300% ที่รัฐต้องจ่ายเพิ่มขึ้น
2) ในส่วนของงบลงทุนเป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ คือคอมพิวเตอร์ ทั้งในส่วนของงานบริหารที่ราชพัสดุ ที่เพิ่มขึ้น 31 ล้านบาทและงานทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินได้รับการดูแลตามหลักการอนุรักษ์ ที่เพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท
(จริงๆแล้วการนำไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน)

กรมศุลกากร (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 43)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 2,418 ล้านบาท เป็น 2,744 ล้านบาท โดยงบบุคคลากรกลับลดลงในขณะที่งบดำเนินการกลับเพิ่มขึ้นถึง 10% ไม่สอดคล้องกัน
2) ในส่วนของงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 164.9 ล้านบาท เป็น 510.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 346 ล้านบาท คิดเป็น 209.69% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ 45.489 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร ซึ่งตอนนี้เราเป็นหนี้มากขึ้นเพราะไปกู้มามาก แต่กลับใช้จ่ายอย่างไม่มีประสิทธิภาพ การใช้จ่ายเพื่อการปรับปรุงอาคารนั้นไม่ได้เป็นการกระจายรายได้แต่กระจุกตัวอยู่ที่ผู้รับเหมาไม่กี่ราย และจริงๆแล้วใช้ฝ่ายอาคารสถานที่ของกรมดูแลอยู่แล้ว

กรมสรรพสามิต (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 53)

ประเด็นที่น่าสังเกต งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 1,966.234 ล้านบาท เป็น 2,168.886 ล้านบาท
เป็นงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 64.84 ล้านบาท เป็น 257.7349 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 193 ล้านบาท คิดเป็น 297% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ 159.62 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร ซึ่งตอนนี้เราเป็นหนี้มากขึ้นเพราะไปกู้มามาก แต่กลับใช้จ่ายอย่างไม่มีประสิทธิภาพ การใช้จ่ายเพื่อการปรับปรุงอาคารนั้นไม่ได้เป็นการกระจายรายได้แต่กระจุกตัวอยู่ที่ผู้รับเหมาไม่กี่ราย และจริงๆแล้วใช้ฝ่ายอาคารสถานที่ของกรมดูแลอยู่แล้ว และการนำเงินไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน

กรมสรรพากร (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 61)

ประเด็นที่น่าสังเกต งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 7,195.1904 ล้านบาท เป็น 7,795.8882 ล้านบาท
เป็นงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 274 ล้านบาท เป็น 340 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 66 ล้านบาท คิดเป็น 24% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ 260 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการก่อสร้างและปรับปรุงอาคาร และการนำเงินไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 69)

ประเด็นที่น่าสังเกต งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 113.4693 ล้านบาท เป็น 114.259.7 ล้านบาท
เป็นงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 1.9 ล้านบาท เป็น 11.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 9 ล้านบาท คิดเป็น 450% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ทั้งหมด และการนำเงินไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 79)

ประเด็นที่น่าสังเกต งบประมาณลดลงจาก 198,032.9974 ล้านบาท เหลือ 189,819.9656 ล้านบาท แต่งบรายจ่ายอื่นกลับเพิ่มขึ้นในระดับที่สูงอย่างผิดสังเกต โดย
- งานตามผลผลิตที่ 1 (หน้า 83) การบริหารจัดการหนี้สาธารณะ
งบประมาณในส่วนของรายจ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจาก 6 ล้านบาท เป็น 488 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 8,033% ซึ่งรายจ่ายที่มากที่สุดคือ การนำไปชำระเงินทุนจัดตั้ง Credit Guarantee and Investment Facility (CGIF) สูงถึง 476 ล้านบาท ซึ่งสูงเกินไปสำหรับการจัดตั้งหน่วยงานและในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะเป็นหนี้สินล้นตัวเช่นนี้

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 หน้า 89)

ประเด็นที่น่าสังเกต 1) งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 285.5401 ล้านบาท เป็น 638.1488 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 123.85% ในขณะที่หน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานวิชาการ และงานส่วนใหญ่เป็นงานเอกสารคือวิเคราะห์เศรษฐกิจ การปรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้จึงไม่สมเหตุผลต่อภาระหน้าที่ของหน่วยงาน
2) ในส่วนของงบลงทุน เพิ่มขึ้นจาก 19 ล้านบาท เป็น 44 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 22 ล้านบาท คิดเป็น 116% เป็นรายจ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ ทั้งหมด และการนำเงินไปซื้อครุภัณฑ์ต่างๆนี้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน แต่เป็นงบรายจ่ายอุปโภคบริโภค เพราะงบลงทุนต้องเป็นการใช้จ่ายแล้วก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมา จึงเรียกว่างบลงทุน แต่รายจ่ายที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนในด้านรายได้ ไม่ถือเป็นงบลงทุน
3) ยังมีงบประมาณในส่วนของรายจ่ายอื่น ที่เพิ่มขึ้นจาก 76 ล้านบาท เป็น 403 ล้านบาท(หน้า 95) เพิ่มขึ้นถึง 327 ล้านบาท คิดเป็น 430%

สรุป
การเสนอใช้งบประมาณปี 2554 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งถือเป็นกระทรวงที่มีหน้าที่บริหารจัดการการคลังของประเทศให้มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ต้องมีวินัยในการใช้จ่ายและเคร่งครัดในการใช้จ่ายตามความเหมาะสมและสมเหตุผล นอกจากนี้ยังต้องบริหารงบประมาณใช้จ่ายให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและฐานะการคลังของประเทศเป็นสำคัญ ประกอบกับต้องบริหารจัดการหารายได้เข้าประเทศให้มาก แต่จากร่างงบประมาณปี 2554 ของกระทรวงการคลัง ในทุก ๆ หน่วยงาน พบว่าขาดวินัยทางการคลังอย่างสิ้นเชิง ขาดความสอดคล้องกับฐานะการคลังอย่างชัดเจน และขาดความเหมาะสมในภาระหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งมีข้อผิดสังเกตในการที่จะไปสู่การเปิดช่องโหว่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นได้โดยง่าย

No comments:

Post a Comment