วิเคราะห์งบประมาณกระทรวงพลังงาน
ดร.เบญจวรรณ จันทระ
15 มิถุนายน 2553
ภาพรวม
งบเพิ่มจาก 1,869.4813 ล้านบาท เป็น 2,130 ล้านบาท โดยมีการปรับขึ้นทุกหน่วยงาน ในขณะที่ เป็นมีหน้าที่หลักคือ กำหนดนโยบายและแผนงานเชิงยุทธศาสตร์
กรมเชื้อเพลิง
งบเพิ่มจาก 176.5479 ล้านบาท เป็น 216.6866 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.73% ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมให้มีการสำรวจ พัฒนา ผลิตและบริการการจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติแบบบูรณาการ แต่กลับของบเพิ่มสูงถึง 22.73%
ประเด็นที่น่าสังเกต 1) ประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในปี 2552 คิดเป็นเพียง 66% ของงบประมาณ ในปี 2553 เบิกจ่ายแล้วเพียง 36.31% ในขณะที่ภาระหน้าที่ยังเหมือนเดิม แต่กลับของบประมาณเพิ่มในปี 2554 เพิ่มขึ้นอีก 22.73% แสดงว่าของบเกินจริงถึง 86% แต่ประสิทธิภาพในการดำเนินงานมีแนวโน้มลดลงจากปี2552 จนถึงปี2553
คือ การให้สัมปทานในปี 2552 ทำได้ 80 แปลงสำรวจ ปี2553 ทำได้ 84 แปลงสำรวจ แต่ปี2554 ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 74 แปลงสำรวจ แต่ใช้งบประมาณสูงกว่า
กรมธุรกิจพลังงาน
งบเพิ่มจาก 273.8528 ล้านบาท เป็น 291.5879 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.48% ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลและพัฒนามาตรฐานธุรกิจพลังงานในด้านการค้า คุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและความมั่นคง
ประเด็นที่น่าสังเกต 1) ประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายเกี่ยวกับการอนุญาต กำกับดูแลธุรกิจพลังงานในปี 2552 ทำได้ 79,582 รายใช้งบประมาณ 197.627 ล้านบาท ในปี 2553 ทำได้แล้ว 41,447 รายใช้งบประมาณ 94.758 ล้านบาท แต่ปี 2554 ตั้งงบประมาณ 279.8114 ล้านบาท แต่มีเป้าหมายเดียวกับปี2553 ในขณะที่ผลการดำเนินงานในปี2553 ทำได้จริงเพียง 39.95% แสดงให้เห็นถึงการไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย แต่กลับของบประมาณเพิ่มอีก
2) ภาระผูกพันที่เป็นค่าเช่ารถยนต์ 13 คัน และค่าเช่าสำนักงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นในปี2554 ในขณะที่ปี2552และ2553 ไม่มีรายจ่ายในส่วนนี้
กรมพลังงานทดแทน
งบเพิ่มจาก 830.8188 ล้านบาท เป็น 953.2632 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.74% ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งเป็นงานด้านยุทธศาสตร์
ประเด็นที่น่าสังเกต 1) การไม่มีประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้
- การสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ NGV โดยเฉพาะในโครงการปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ 50,000 คัน ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี2552 จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผลงานที่ชัดเจน
- การผลิตและใช้พลังงานทดแทน ในปี2552 ตั้งงบประมาณสูงถึง 922.295 ล้านบาทแต่ดำเนินการจริงเพียง 53% และได้ผลงานคือพลังงานทดแทนที่ผลิตได้ 319.491 KTOE จากเป้าคือ 596.154 KTOE ส่วนในปี2553 ตั้งเป้าหมายที่ 441.8388 KTOE แต่ทำๆได้จริงเพียง 149.3188 KTOE คิดเป็น 33.79% และใช้งบประมาณไป 243.7436 ล้านบาท จากงบที่ตั้งไว้ 682.4808 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งงบประมาณไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน คือตั้งงบประมาณสูงในขณะที่ได้ผลงานระดับต่ำมาก เช่นเดียวกับปี2554 ที่ตั้งงบประมาณสูงถึง 571.5679 ล้านบาท เป็นสัดส่วนถึง 59.95% ของงบประมาณทั้งหมดในหน่วยงาน
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
งบเพิ่มจาก 62.294 ล้านบาท เป็น 91.7644 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.3% ซึ่งมีหน้าที่ในการเสนอแนะ นโยบายและแผนการพัฒนาพลังงานของประเทศ
ประเด็นที่น่าสังเกต 1) การไม่มีประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุโดยเฉพาะในส่วนของการดูแลระดับราคาพลังงานของไทยให้เป็นธรรมและเหมาะสมกับสภาวะของสังคม ซึ่งที่ผ่านมาระดับราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาน้ำมันสูงเกินจริงถึงลิตรละ 10-12 บาท ในขณะที่รายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมและเหมาะสม
2) ในส่วนของงานวิเคราะห์ เสนอแนะยุทธศ่าสตร์ นโยบาย แผนงานและมาตรการด้านพลังงาน ในปี2552 ใช้งบประมาณไป 7.063 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 17.97 ล้านบาท แต่มีผลงานคือรายงาน 6 ฉบับ ซึ่งตามเป้าหมาย แสดงว่าตั้งงบเกินจริงถึง 60.69% เช่นเดียวกับปี2553 ที่ใช้งบไปแล้วเพียง 13% กับเป้าหมายเดิม แต่กลับของบเพิ่มในปี2554 ถึง 32.09446 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 97.48%
3) ในส่วนของงานวิเคราะห์ เสนอแนะ นโยบาย แผนงานและมาตรการด้านการจัดการพัฒนาปิโตเลียม ด้านไฟฟ้า และด้านอนุรักษ์ ในปี2552 ใช้งบประมาณไป 18.266 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 32.112 ล้านบาท แสดงว่าตั้งงบเกินจริงถึง 43.12% เช่นเดียวกับปี2553 ที่ใช้งบไปแล้วเพียง 3.687 ล้านบาท กับเป้าหมายเดิม แต่กลับของบเพิ่มในปี2554 ถึง 18.8549 ล้านบาท
4) ในส่วนของงบการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ในปี2552 ใช้งบประมาณไป 37.136 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 22.367 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งในปี2554 กลับของบสูงถึง 40.81504 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึง 88.68% แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการจัดทำงบประมาณอย่างชัดเจน
ดร.เบญจวรรณ จันทระ
15 มิถุนายน 2553
ภาพรวม
งบเพิ่มจาก 1,869.4813 ล้านบาท เป็น 2,130 ล้านบาท โดยมีการปรับขึ้นทุกหน่วยงาน ในขณะที่ เป็นมีหน้าที่หลักคือ กำหนดนโยบายและแผนงานเชิงยุทธศาสตร์
กรมเชื้อเพลิง
งบเพิ่มจาก 176.5479 ล้านบาท เป็น 216.6866 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.73% ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมให้มีการสำรวจ พัฒนา ผลิตและบริการการจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติแบบบูรณาการ แต่กลับของบเพิ่มสูงถึง 22.73%
ประเด็นที่น่าสังเกต 1) ประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในปี 2552 คิดเป็นเพียง 66% ของงบประมาณ ในปี 2553 เบิกจ่ายแล้วเพียง 36.31% ในขณะที่ภาระหน้าที่ยังเหมือนเดิม แต่กลับของบประมาณเพิ่มในปี 2554 เพิ่มขึ้นอีก 22.73% แสดงว่าของบเกินจริงถึง 86% แต่ประสิทธิภาพในการดำเนินงานมีแนวโน้มลดลงจากปี2552 จนถึงปี2553
คือ การให้สัมปทานในปี 2552 ทำได้ 80 แปลงสำรวจ ปี2553 ทำได้ 84 แปลงสำรวจ แต่ปี2554 ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 74 แปลงสำรวจ แต่ใช้งบประมาณสูงกว่า
กรมธุรกิจพลังงาน
งบเพิ่มจาก 273.8528 ล้านบาท เป็น 291.5879 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.48% ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลและพัฒนามาตรฐานธุรกิจพลังงานในด้านการค้า คุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและความมั่นคง
ประเด็นที่น่าสังเกต 1) ประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายเกี่ยวกับการอนุญาต กำกับดูแลธุรกิจพลังงานในปี 2552 ทำได้ 79,582 รายใช้งบประมาณ 197.627 ล้านบาท ในปี 2553 ทำได้แล้ว 41,447 รายใช้งบประมาณ 94.758 ล้านบาท แต่ปี 2554 ตั้งงบประมาณ 279.8114 ล้านบาท แต่มีเป้าหมายเดียวกับปี2553 ในขณะที่ผลการดำเนินงานในปี2553 ทำได้จริงเพียง 39.95% แสดงให้เห็นถึงการไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย แต่กลับของบประมาณเพิ่มอีก
2) ภาระผูกพันที่เป็นค่าเช่ารถยนต์ 13 คัน และค่าเช่าสำนักงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นในปี2554 ในขณะที่ปี2552และ2553 ไม่มีรายจ่ายในส่วนนี้
กรมพลังงานทดแทน
งบเพิ่มจาก 830.8188 ล้านบาท เป็น 953.2632 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.74% ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งเป็นงานด้านยุทธศาสตร์
ประเด็นที่น่าสังเกต 1) การไม่มีประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้
- การสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ NGV โดยเฉพาะในโครงการปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ 50,000 คัน ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี2552 จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผลงานที่ชัดเจน
- การผลิตและใช้พลังงานทดแทน ในปี2552 ตั้งงบประมาณสูงถึง 922.295 ล้านบาทแต่ดำเนินการจริงเพียง 53% และได้ผลงานคือพลังงานทดแทนที่ผลิตได้ 319.491 KTOE จากเป้าคือ 596.154 KTOE ส่วนในปี2553 ตั้งเป้าหมายที่ 441.8388 KTOE แต่ทำๆได้จริงเพียง 149.3188 KTOE คิดเป็น 33.79% และใช้งบประมาณไป 243.7436 ล้านบาท จากงบที่ตั้งไว้ 682.4808 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งงบประมาณไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน คือตั้งงบประมาณสูงในขณะที่ได้ผลงานระดับต่ำมาก เช่นเดียวกับปี2554 ที่ตั้งงบประมาณสูงถึง 571.5679 ล้านบาท เป็นสัดส่วนถึง 59.95% ของงบประมาณทั้งหมดในหน่วยงาน
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
งบเพิ่มจาก 62.294 ล้านบาท เป็น 91.7644 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.3% ซึ่งมีหน้าที่ในการเสนอแนะ นโยบายและแผนการพัฒนาพลังงานของประเทศ
ประเด็นที่น่าสังเกต 1) การไม่มีประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุโดยเฉพาะในส่วนของการดูแลระดับราคาพลังงานของไทยให้เป็นธรรมและเหมาะสมกับสภาวะของสังคม ซึ่งที่ผ่านมาระดับราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาน้ำมันสูงเกินจริงถึงลิตรละ 10-12 บาท ในขณะที่รายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมและเหมาะสม
2) ในส่วนของงานวิเคราะห์ เสนอแนะยุทธศ่าสตร์ นโยบาย แผนงานและมาตรการด้านพลังงาน ในปี2552 ใช้งบประมาณไป 7.063 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 17.97 ล้านบาท แต่มีผลงานคือรายงาน 6 ฉบับ ซึ่งตามเป้าหมาย แสดงว่าตั้งงบเกินจริงถึง 60.69% เช่นเดียวกับปี2553 ที่ใช้งบไปแล้วเพียง 13% กับเป้าหมายเดิม แต่กลับของบเพิ่มในปี2554 ถึง 32.09446 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 97.48%
3) ในส่วนของงานวิเคราะห์ เสนอแนะ นโยบาย แผนงานและมาตรการด้านการจัดการพัฒนาปิโตเลียม ด้านไฟฟ้า และด้านอนุรักษ์ ในปี2552 ใช้งบประมาณไป 18.266 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 32.112 ล้านบาท แสดงว่าตั้งงบเกินจริงถึง 43.12% เช่นเดียวกับปี2553 ที่ใช้งบไปแล้วเพียง 3.687 ล้านบาท กับเป้าหมายเดิม แต่กลับของบเพิ่มในปี2554 ถึง 18.8549 ล้านบาท
4) ในส่วนของงบการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ในปี2552 ใช้งบประมาณไป 37.136 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 22.367 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งในปี2554 กลับของบสูงถึง 40.81504 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึง 88.68% แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการจัดทำงบประมาณอย่างชัดเจน